Survive to smile อยู่เพื่อยิ้ม

Survive to smile อยู่เพื่อยิ้ม

รอยยิ้มที่เห็น

เป็นหลักฐานของการต่อสู้

บริจาคให้โครงการ
Survive to smile อยู่เพื่อยิ้ม

บาท
บาท
e-Donation ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
รองรับการบริจาคผ่าน
โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
บัตรเครดิต/เดบิต, วีซ่า, มาสเตอร์การ์ด
QR e-Donation

เพราะสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการมีชีวิตอยู่
คือการได้อยู่โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เด็กพิการการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ

45,000 คน

เป็นรายใหม่ 3,000 ราย

ประมาณครึ่งหนึ่ง
เป็นเด็กสมองพิการซึ่งเป็นผลลัพธ์จาก

การสร้างอวัยวะผิดปกติขณะอยู่ในครรภ์

ขาดอากาศระหว่างคลอด

ทารกน้ำหนักตัวน้อยและคลอดก่อนกำหนด

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลเด็ก ให้การดูแลเด็กที่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวประมาณ 8000 รายต่อปี ความรุนแรงมีตั้งแต่น้อย เมื่อได้รับการฟื้นฟูฯไประยะหนึ่งก็หายได้ กลุ่มปานกลาง สามารถดูแลให้เดินได้ หรือจากนอนมานั่งทรงตัวได้ จนถึงรุนแรงมากเป็นภาวะติดเตียง อย่างไรก็ดีต้องรักษาต่อเนื่องให้อวัยวะต่างๆทำงานได้เต็มศักยภาพที่มี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ควบคู่ไปกับพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่สมวัย

เด็กอาจมีหลายปัญหานอกจากการทรงตัวหรือเดิน เช่น การการกลืน การย่อยอาหาร การใช้มือ การเห็น การได้ยิน จำเป็นต้องดูแลโดยแพทย์หลายวิชาชีพ รวมทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดและนักกายอุปกรณ์

ปัจจุบันสถาบันสุขภาพเด็กฯ หรือโรงพยาบาลเด็ก มีทีมบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์และความรู้ทักษะในระดับเชี่ยวชาญเทียบเท่าสากล แต่ยังคงขาดแคลนเทคโนโลยีระดับสูงที่ใช้ในการสนับสนุนการรักษาและการฟื้นฟูสภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค การผ่าตัดแก้ไขความพิการและการฟื้นฟูสภาพที่มีความซับซ้อน อันเป็นการเติมเต็มศักยภาพของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ที่ไม่ใช่เพียงมีชีวิตรอด แต่ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือสามารถพัฒนาให้พึ่งพาตนเองได้ ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติ เป็นการคืนทรัพยากรที่มีคุณภาพสู่สังคมไทย สมกับคำว่าอยู่รอดเพื่อรอยยิ้มอย่างแท้จริง

ร่างกายอาจแตกต่าง
แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือรอยยิ้ม

  • น้องณัฐ หนุ่มน้อยผู้มีแต่รอยยิ้ม

    น้องณัฐเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด ตอนอายุ 7 เดือน น้องยังพลิกคว่ำไม่ได้ เริ่มเกาะยืนได้ตอน 2.5 ปี ได้รับการผ่าตัดเนื้อเยื่อที่หดสั้น (ขาหนีบ หลังเข่า และน่อง) ที่อายุ 6.9 ปี และเริ่มเดินได้เมื่อ 7.2 ปี

    ก้าวแรกของณัฐเมื่ออายุ 7 ปี ทุกคนเริ่มเห็นประกายในแววตาน้องณัฐ จาก 1 ก้าว เป็น 2 เป็น 10 และ เดินได้ 150 ก้าว ไม่ล้ม เดินได้มั่นคง

    ปัจจุบันน้องณัฐยังมาฝึกเป็นประจำที่โรงพยาบาลเด็ก พร้อมๆกับรอยยิ้มบนใบหน้า น้องณัฐฝันอยากปั่นจักรยานได้คล่องบนสนาม และความพยายามของณัฐไม่ไกลเกินเอื้อม

    การรักษาและอุปกรณ์ที่ผ่านมา

    • ทำกายภาพบำบัดวอยต้า (Vojta therapy)
    • เคยฉีดยาลดเกร็งที่ขาทั้งสองข้าง
    • ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าทั้งสองข้าง
    • ได้รับการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อข้อเท้า, ต้นขาด้านใน, และต้นขาด้านหลังบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง

  • น้องไอเดีย เจ้าหญิงนักสู้

    คลอดก่อนกำหนดด้วยน้ำหนักแรกเกิดเพียง 840 กรัม

    พออายุ 2 ปี 4 เดือน น้องยังไม่สามารถทรงตัวยืนได้เอง คุณแม่พามาตรวจที่โรงพยาบาลเด็ก แพทย์ทำการรักษาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ นักกายภาพจัดโปรแกรมฝึกให้ จนปัจจุบัน น้องสามารถคลาน เกาะยืนได้ แต่ยังยืนเองไม่ได้ไม่ดี แต่ไอเดียก็ยังสู้

    การรักษาและอุปกรณ์ที่ผ่านมา

    • ทำกายภาพบำบัด
    • กินยาลดเกร็ง
    • ฉีดยาลดเกร็งที่ขาทั้งสองข้าง
    • ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าทั้งสองข้าง
    • ใช้เครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ

  • น้องเอย สาวน้อยคนเก่ง

    ประวัติคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิด 1600 กรัม น้องมีอาการเกร็งและอ่อนแรงซีกขวา เดินเขย่งเท้าขวา ได้รับการรักษาโดย - ฉีดยาลดเกร็งที่ขา และ ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าชวา มีปัจจุบันน้องเอยมีวินัยในการฝึก จนทำให้น้องสามารถเดินได้ และเดินได้คล่องขึ้น ตอนนี้น้องเอย กำลังฝึกเดินขึ้น ลง บันได และช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

  • น้องปิ่น สาวน้อยผู้รักการเต้น ก้าวข้ามอุปสรรคสู่นักเต้นตัวน้อยหลากหลายเวที

    ตอนอายุ 9 เดือน ผู้ปกครองพาน้องปิ่นมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่คลอดตามนัด แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายและประเมินพัฒนาการอย่างละเอียดพบว่า น้องปิ่นไม่ใช้แขนขวา มีการอ่อนแรงซีกขวา จึงส่งตรวจ MRI พบว่าสมองซีกซ้ายมีช่องโหว่

    น้องปิ่นเริ่มทำกายภาพบำบัด ตั้งแต่อายุ 9 เดือน จนกระทั่งอายุ 5 ปี ก็ย้ายมาที่โรงพยาบาลเด็กเนื่องจากมีเดินกระเพลก ขาขวาบิดเข้าในและเข่าแอ่น เพิ่มขึ้น

    ปัจจุบันน้องปิ่น สามารถโชว์ศักยภาพและแสดงความใฝ่ฝันของตนเองได้เต็มที่ผ่านการเต้น

    การรักษาและอุปกรณ์ที่ผ่านมา

    • ใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า(AFO)ข้างขวาตั้งแต่ตอนอายุได้ 6 ปี
    • ไม่เคยได้รับการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อข้อเท้าใดๆเลย

    ตอนน้องปิ่นอายุ 9 เดือน แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายและประเมินพัฒนาการ พบว่าผู้ป่วยไม่ใช้แขนขวา มีการอ่อนแรง ซีกขวา จึงส่งตรวจ MRI พบว่าสมองซีกซ้ายมีช่องโหว่ และวินิจฉัย ว่าเป็น Lt. schizencephaly โดยมีอาการ Rt. hemiparesis

    • เริ่มทำกายภาพบำบัด (อายุได้ 9 เดือน)
    • เมื่ออายุได้ 5 ปี ย้ายมาปรึกษาแพทย์ระบบกระดูกและกล้าม เนื้อ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูต่อเนื่องจากมีเดินกระเพลก ขาขวาบิด เข้าในและเข่าแอ่น เพิ่มขึ้น ใช้แขนขวาลำบาก พูดไม่ ชัดร่วมด้วย

    ปัจจุบันน้องปิ่น สามารถโชว์ศักยภาพและแสดงความใฝ่ฝันของ ตนเองได้เต็มที่ผ่านการเต้น

ร่างกายอาจแตกต่าง
แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือรอยยิ้ม

ครุภัณฑ์รอการสนับสนุน

ลำดับ รายการ ราคาต่อหน่วย
1 สว่านลมเจาะกระดูกชนิดเปลี่ยนหัวต่อได้ 2,490,000
2 ชุดฝึกการทรงตัว การถ่ายน้ำหนัก และฝึก การรับรู้ของข้อต่อในเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 1,200,000
3 เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวของแขนและขา สำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 800,000
4 อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินชนิดมีล้อลากสำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 160,000
5 ลู่ฝึกการเดินสำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวพร้อมเครื่องช่วยพยุง 1,700,000
6 ชุดฝึกกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ 1,000,000
7 ชุดพรมฝึกกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ 400,000
8 ชุดอุปกรณ์การตรวจประเมินและฝึกทางกิจกรรมบำบัด สำหรับการเคลื่อนไหว แขนและมือ 180,000
9 ตู้อบ อินฟราเรด สำหรับขึ้นรูปกายอุปกรณ์ เสริมพลาสติกหรือโฟมและเบ้าขาเทียมพลาสติก 1,200,000
10 เครื่องเจียรกายอุปกรณ์/ขุดเบ้าขาเทียม 600,000
11 เครื่องขัดสำหรับทำแผ่นรองฝ่าเท้าหรือ อุปกรณ์เสริม 550,000
12 เครื่องดูดสุญญากาศใช้สำหรับขึ้นรูปพลาสติกเข้ากับหุ่นปูน 550,000
13 Alignment apparatus เครื่องสำหรับจัด แนวกายอุปกรณ์เสริม 500,000
14 เครื่องประเมินความผิดปกติของฝ่าเท้าและการลงน้ำหนัก (Podoscope) 30,000
15 ราวสำหรับแต่งหุ่นปูนใช้สำหรับเป็นที่ยึดหุ่นปูนจากแบบที่หล่อมาจากขา/ร่างกายผู้ป่วย 20,000
16 Pelvic Level ใช้สำหรับตรวจวัดหาระดับ ความสมดุลสะโพก 10,000
17 Body caliper 8,000
18 3D scaner พร้อม software สำหรับออกแบบ กายอุปกรณ์ 350,000
19 เครื่อง 3D printing ระบบ SLS 1,700,000

ครุภัณฑ์ขอรับการสนับสนุน
กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ จำนวน 1 รายการ

ลำดับ รายการ ประโยชน์
1 สว่านลมเจาะกระดูกชนิดเปลี่ยนหัวต่อได้ เป็นสว่านลมเจาะกระดูกชนิดเปลี่ยนหัวต่อได้ ตามลักษณะงานผ่าตัดที่ต้องการใช้ เช่น สว่าน เจาะกระดูก เลื่อยเจาะกระดูกหรือคว้านโพรง กระดูก ฯ โดยมีรูผ่านตลอด ซึ่งช่วยให้การใส่ โลหะดามโพรงกระดูกทำให้ง่ายและสะดวกขึ้น และสามารถใช้กับ การผ่าตัดใหญ่ได้ทุกชนิด

ร่างกายอาจแตกต่าง
แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือรอยยิ้ม

ร่วมให้โอกาสเด็กไทย เข้าถึงการรักษา