Little Miracle ปาฏิหาริย์เล็กๆ เพื่อผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤติ

Little Miracle ปาฏิหาริย์เล็กๆ เพื่อผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤติ

ปาฏิหาริย์เล็ก ๆ
เพื่อผู้ป่วยเด็กห้องไอซียู

บริจาคให้โครงการ Little Miracle

บาท
บาท
e-Donation ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
รองรับการบริจาคผ่าน
โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
บัตรเครดิต/เดบิต, วีซ่า, มาสเตอร์การ์ด
QR e-Donation

ไม่มีของขวัญใด มีค่าไปกว่า
ปาฏิหาริย์แห่งการรอดชีวิต

เพราะทุกชีวิตมีความหมาย ไม่ว่าจะยากดีมีจน

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อโรงพยาบาลเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนที่พึ่งแห่งสุดท้ายของพ่อแม่ที่มีลูกป่วย ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเด็กทั้งหมดได้รับการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยตรงจากทางสถาบันสุขภาพเด็กฯ

โรงพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธการรับคนไข้ในนาทีวิกฤตได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนและใกล้ชิดโดยบุคคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลากหลายสาขา พยาบาล เจ้าหน้าที่รังสี ฯลฯ

แม้ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ แต่ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยเด็กที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี อย่างไรก็ตามการเพิ่มจำนวนเตียงในหอผู้ป่วยเด็ก (ไอซียู) เพื่อรองรับผู้ป่วยเด็กวัย 1 เดือน ถึง 15 ปี เพียงอย่างเดียวก็ยังอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยภาวะวิกฤติจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์มากมาย

โครงการ Little Miracle
ปาฏิหาริย์เล็กๆ เพื่อผู้ป่วยเด็กห้องไอซียู

คือ โครงการระดมทุนโดยมีเป้าหมายเพื่อ เพิ่มเตียงในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤติ (ไอซียู) และครุภัณฑ์ทางแพทย์ชั้นสูง สำหรับผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤติ ให้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็ว เท่าเทียม และทันท่วงที

สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเพียงเครื่องมือทางการแพทย์ แต่สำหรับผู้ป่วยเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆ เหล่านั้น สิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือสร้างปาฏิหาริย์...

ในแต่ละวินาที มีผู้ป่วยเด็กจำนวนไม่น้อย จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทุกวินาทีอาจหมายถึงชีวิต ทีมแพทย์และพยาบาล ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่..
เพื่อให้เด็กน้อยมีลมหายใจได้นานที่สุด..

แต่คงจะดีกว่านี้ หากมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพียงพอ เพราะบ่อยครั้งอาการของผู้ป่วยเด็กวิกฤติ มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ขั้นสูง เพื่อต่อลมหายใจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤต
ไม่สามารถหายใจได้เอง
การทำงานของอวัยวะสำคัญล้มเหลว

ได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด ตับ ไต การติดเชื้อในกระแสโลหิต จากโรคภัยคุกคาม หรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรง หลังผ่าตัดอวัยวะที่สำคัญ อาจต้องใช้ครุภัณฑ์อุปกรณ์การแพทย์พิเศษ อาทิ

  • เตียงสำหรับผู้ป่วยเด็กไอซียู
  • เครื่องช่วยหายใจ
  • เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียน
  • เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • เครื่องควบคุมการทำงานของร่างกาย
  • เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียน
  • รวมไปถึงเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ จึงเป็นปัญหาที่สำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็ก ให้ได้เข้าถึงการดูแลอย่างเหมาะสม เท่าเทียม และทันท่วงที
เครื่องมือทางการแพทย์ ครุภัณฑ์อุปกรณ์การแพทย์ 11 รายการ
เครื่องช่วยหายใจ

1. เครื่องช่วยหายใจ

เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียน

2. เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียน

เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

3. เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ/เลือด/นม ด้วยกระบอกฉีดยา

4. เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ/เลือด/นม ด้วยกระบอกฉีดยา

เตียงผู้ป่วย

5. เตียงผู้ป่วย

เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า

6. เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า

เครื่องตรวคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

7. เครื่องตรวคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนชนิดเคลื่อนย้ายได้

8. เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนชนิดเคลื่อนย้ายได้

เครื่องให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้ป่วย

9. เครื่องให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้ป่วย

เครื่องควบคุมอุณหภูมิร่างกาย

10. เครื่องควบคุมอุณหภูมิร่างกาย

รถใส่อุปกรณ์และยาสำหรับช่วยชีวิตฉุกเฉิน

11. รถใส่อุปกรณ์และยาสำหรับช่วยชีวิตฉุกเฉิน

ประโยชน์ของโครงการ

หากมี จำนวนเตียงฉุกเฉินเพิ่มขึ้น
โรงพยาบาลเด็กจะสามารถ รับผู้ป่วยได้มากขึ้น

นั่นหมายถึง โอกาสรอดชีวิต
ของผู้ป่วยเด็กวิกฤติ แต่ละรายก็ เพิ่มขึ้น ด้วย

  • น้องข้าวหอม อายุ 8 ปี
    ป่วยด้วยโรคลมชักและแพ้ยาลมชักทุกตัว

    เข้ามารักษาที่รพ.เด็กด้วยอาการลมชัก เมื่อให้ยาลมชัก น้องมีอาการแพ้ยาทุกตัว จนผิวหนังลอก มีอาการติดเชื้อ โอกาสรอดน้อยมาก ข้าวหอมต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลเด็กตลอดระยะเวลาการรักษา 7 เดือน (ต้องเข้าหอผู้ป่วยเด็กไอซียู 3 เดือน ออกจากไอซียู จึงย้ายอยู่หอผู้ป่วยอีก 4 เดือน)

    ปัจจุบันน้องค่อยๆ อาการดีขึ้น

  • อีกหนึ่งหนูน้อย
    ที่มีความผิดปกติในเรื่องของระบบทางเดินหายใจ

    ต้องเจาะคอในส่วนของระบบทางเดินหายใจ และยังมีอาการแทรกซ้อน เนื่องจากร่างกายไม่มีภูมิต้านทานจึงมีอาการปอดติดเชื้อรุนแรงและมีการติดเชื้อทางกระแสเลือด ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ครอบครัวเกือบสุญเสียลูกไปแล้ว แต่ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญจาก รพ.เด็ก ได้ช่วยเหลือน้องเต็มอย่างเต็มที่ จึงได้ลูกกลับคืนสู่อ้อมกอดอีกครั้ง

เพราะ ปาฏิหารย์ เกิดขึ้นได้เสมอ แค่เพียงคุณ ให้โอกาส

ร่วมให้โอกาสเด็กไทย เข้าถึงการรักษา