Survive to smile อยู่เพื่อยิ้ม

Survive to smile อยู่เพื่อยิ้ม

รอยยิ้มที่เห็น

เป็นหลักฐานของการต่อสู้

บริจาคให้โครงการ
Survive to smile อยู่เพื่อยิ้ม

บาท
บาท
เงินบริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
รองรับการบริจาคผ่าน

เพราะสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการมีชีวิตอยู่
คือการได้อยู่โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เด็กพิการการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ

45,000 คน

เป็นรายใหม่ 3,000 ราย

ประมาณครึ่งหนึ่ง
เป็นเด็กสมองพิการซึ่งเป็นผลลัพธ์จาก

การสร้างอวัยวะผิดปกติขณะอยู่ในครรภ์

ขาดอากาศระหว่างคลอด

ทารกน้ำหนักตัวน้อยและคลอดก่อนกำหนด

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลเด็ก ให้การดูแลเด็กที่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวประมาณ 8000 รายต่อปี ความรุนแรงมีตั้งแต่น้อย เมื่อได้รับการฟื้นฟูฯไประยะหนึ่งก็หายได้ กลุ่มปานกลาง สามารถดูแลให้เดินได้ หรือจากนอนมานั่งทรงตัวได้ จนถึงรุนแรงมากเป็นภาวะติดเตียง อย่างไรก็ดีต้องรักษาต่อเนื่องให้อวัยวะต่างๆทำงานได้เต็มศักยภาพที่มี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ควบคู่ไปกับพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่สมวัย

เด็กอาจมีหลายปัญหานอกจากการทรงตัวหรือเดิน เช่น การการกลืน การย่อยอาหาร การใช้มือ การเห็น การได้ยิน จำเป็นต้องดูแลโดยแพทย์หลายวิชาชีพ รวมทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดและนักกายอุปกรณ์

ปัจจุบันสถาบันสุขภาพเด็กฯ หรือโรงพยาบาลเด็ก มีทีมบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์และความรู้ทักษะในระดับเชี่ยวชาญเทียบเท่าสากล แต่ยังคงขาดแคลนเทคโนโลยีระดับสูงที่ใช้ในการสนับสนุนการรักษาและการฟื้นฟูสภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค การผ่าตัดแก้ไขความพิการและการฟื้นฟูสภาพที่มีความซับซ้อน อันเป็นการเติมเต็มศักยภาพของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ที่ไม่ใช่เพียงมีชีวิตรอด แต่ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือสามารถพัฒนาให้พึ่งพาตนเองได้ ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติ เป็นการคืนทรัพยากรที่มีคุณภาพสู่สังคมไทย สมกับคำว่าอยู่รอดเพื่อรอยยิ้มอย่างแท้จริง

ร่างกายอาจแตกต่าง
แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือรอยยิ้ม

  • น้องณัฐ หนุ่มน้อยผู้มีแต่รอยยิ้ม

    น้องณัฐเป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด ตอนอายุ 7 เดือน น้องยังพลิกคว่ำไม่ได้ เริ่มเกาะยืนได้ตอน 2.5 ปี ได้รับการผ่าตัดเนื้อเยื่อที่หดสั้น (ขาหนีบ หลังเข่า และน่อง) ที่อายุ 6.9 ปี และเริ่มเดินได้เมื่อ 7.2 ปี

    ก้าวแรกของณัฐเมื่ออายุ 7 ปี ทุกคนเริ่มเห็นประกายในแววตาน้องณัฐ จาก 1 ก้าว เป็น 2 เป็น 10 และ เดินได้ 150 ก้าว ไม่ล้ม เดินได้มั่นคง

    ปัจจุบันน้องณัฐยังมาฝึกเป็นประจำที่โรงพยาบาลเด็ก พร้อมๆกับรอยยิ้มบนใบหน้า น้องณัฐฝันอยากปั่นจักรยานได้คล่องบนสนาม และความพยายามของณัฐไม่ไกลเกินเอื้อม

    การรักษาและอุปกรณ์ที่ผ่านมา

    • ทำกายภาพบำบัดวอยต้า (Vojta therapy)
    • เคยฉีดยาลดเกร็งที่ขาทั้งสองข้าง
    • ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าทั้งสองข้าง
    • ได้รับการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อข้อเท้า, ต้นขาด้านใน, และต้นขาด้านหลังบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง

  • น้องไอเดีย เจ้าหญิงนักสู้

    คลอดก่อนกำหนดด้วยน้ำหนักแรกเกิดเพียง 840 กรัม

    พออายุ 2 ปี 4 เดือน น้องยังไม่สามารถทรงตัวยืนได้เอง คุณแม่พามาตรวจที่โรงพยาบาลเด็ก แพทย์ทำการรักษาร่วมกับทีมสหวิชาชีพ นักกายภาพจัดโปรแกรมฝึกให้ จนปัจจุบัน น้องสามารถคลาน เกาะยืนได้ แต่ยังยืนเองไม่ได้ไม่ดี แต่ไอเดียก็ยังสู้

    การรักษาและอุปกรณ์ที่ผ่านมา

    • ทำกายภาพบำบัด
    • กินยาลดเกร็ง
    • ฉีดยาลดเกร็งที่ขาทั้งสองข้าง
    • ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าทั้งสองข้าง
    • ใช้เครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ

  • น้องเอย สาวน้อยคนเก่ง

    ประวัติคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิด 1600 กรัม น้องมีอาการเกร็งและอ่อนแรงซีกขวา เดินเขย่งเท้าขวา ได้รับการรักษาโดย - ฉีดยาลดเกร็งที่ขา และ ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าชวา มีปัจจุบันน้องเอยมีวินัยในการฝึก จนทำให้น้องสามารถเดินได้ และเดินได้คล่องขึ้น ตอนนี้น้องเอย กำลังฝึกเดินขึ้น ลง บันได และช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

  • น้องปิ่น สาวน้อยผู้รักการเต้น ก้าวข้ามอุปสรรคสู่นักเต้นตัวน้อยหลากหลายเวที

    ตอนอายุ 9 เดือน ผู้ปกครองพาน้องปิ่นมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่คลอดตามนัด แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายและประเมินพัฒนาการอย่างละเอียดพบว่า น้องปิ่นไม่ใช้แขนขวา มีการอ่อนแรงซีกขวา จึงส่งตรวจ MRI พบว่าสมองซีกซ้ายมีช่องโหว่

    น้องปิ่นเริ่มทำกายภาพบำบัด ตั้งแต่อายุ 9 เดือน จนกระทั่งอายุ 5 ปี ก็ย้ายมาที่โรงพยาบาลเด็กเนื่องจากมีเดินกระเพลก ขาขวาบิดเข้าในและเข่าแอ่น เพิ่มขึ้น

    ปัจจุบันน้องปิ่น สามารถโชว์ศักยภาพและแสดงความใฝ่ฝันของตนเองได้เต็มที่ผ่านการเต้น

    การรักษาและอุปกรณ์ที่ผ่านมา

    • ใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า(AFO)ข้างขวาตั้งแต่ตอนอายุได้ 6 ปี
    • ไม่เคยได้รับการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อข้อเท้าใดๆเลย

    ตอนน้องปิ่นอายุ 9 เดือน แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายและประเมินพัฒนาการ พบว่าผู้ป่วยไม่ใช้แขนขวา มีการอ่อนแรง ซีกขวา จึงส่งตรวจ MRI พบว่าสมองซีกซ้ายมีช่องโหว่ และวินิจฉัย ว่าเป็น Lt. schizencephaly โดยมีอาการ Rt. hemiparesis

    • เริ่มทำกายภาพบำบัด (อายุได้ 9 เดือน)
    • เมื่ออายุได้ 5 ปี ย้ายมาปรึกษาแพทย์ระบบกระดูกและกล้าม เนื้อ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูต่อเนื่องจากมีเดินกระเพลก ขาขวาบิด เข้าในและเข่าแอ่น เพิ่มขึ้น ใช้แขนขวาลำบาก พูดไม่ ชัดร่วมด้วย

    ปัจจุบันน้องปิ่น สามารถโชว์ศักยภาพและแสดงความใฝ่ฝันของ ตนเองได้เต็มที่ผ่านการเต้น

ร่างกายอาจแตกต่าง
แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือรอยยิ้ม

ครุภัณฑ์รอการสนับสนุน

ลำดับ รายการ ราคาต่อหน่วย
1 สว่านลมเจาะกระดูกชนิดเปลี่ยนหัวต่อได้ 2,490,000
2 ชุดฝึกการทรงตัว การถ่ายน้ำหนัก และฝึก การรับรู้ของข้อต่อในเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 1,200,000
3 เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวของแขนและขา สำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 800,000
4 อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินชนิดมีล้อลากสำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 160,000
5 ลู่ฝึกการเดินสำหรับเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวพร้อมเครื่องช่วยพยุง 1,700,000
6 ชุดฝึกกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ 1,000,000
7 ชุดพรมฝึกกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ 400,000
8 ชุดอุปกรณ์การตรวจประเมินและฝึกทางกิจกรรมบำบัด สำหรับการเคลื่อนไหว แขนและมือ 180,000
9 ตู้อบ อินฟราเรด สำหรับขึ้นรูปกายอุปกรณ์ เสริมพลาสติกหรือโฟมและเบ้าขาเทียมพลาสติก 1,200,000
10 เครื่องเจียรกายอุปกรณ์/ขุดเบ้าขาเทียม 600,000
11 เครื่องขัดสำหรับทำแผ่นรองฝ่าเท้าหรือ อุปกรณ์เสริม 550,000
12 เครื่องดูดสุญญากาศใช้สำหรับขึ้นรูปพลาสติกเข้ากับหุ่นปูน 550,000
13 Alignment apparatus เครื่องสำหรับจัด แนวกายอุปกรณ์เสริม 500,000
14 เครื่องประเมินความผิดปกติของฝ่าเท้าและการลงน้ำหนัก (Podoscope) 30,000
15 ราวสำหรับแต่งหุ่นปูนใช้สำหรับเป็นที่ยึดหุ่นปูนจากแบบที่หล่อมาจากขา/ร่างกายผู้ป่วย 20,000
16 Pelvic Level ใช้สำหรับตรวจวัดหาระดับ ความสมดุลสะโพก 10,000
17 Body caliper 8,000
18 3D scaner พร้อม software สำหรับออกแบบ กายอุปกรณ์ 350,000
19 เครื่อง 3D printing ระบบ SLS 1,700,000

ครุภัณฑ์ขอรับการสนับสนุน
กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ จำนวน 1 รายการ

ลำดับ รายการ ประโยชน์
1 สว่านลมเจาะกระดูกชนิดเปลี่ยนหัวต่อได้ เป็นสว่านลมเจาะกระดูกชนิดเปลี่ยนหัวต่อได้ ตามลักษณะงานผ่าตัดที่ต้องการใช้ เช่น สว่าน เจาะกระดูก เลื่อยเจาะกระดูกหรือคว้านโพรง กระดูก ฯ โดยมีรูผ่านตลอด ซึ่งช่วยให้การใส่ โลหะดามโพรงกระดูกทำให้ง่ายและสะดวกขึ้น และสามารถใช้กับ การผ่าตัดใหญ่ได้ทุกชนิด

ร่างกายอาจแตกต่าง
แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือรอยยิ้ม

ยอดบริจาคทั้งหมด (บาท) 4,304,037